ภาพกิจกรรมโครงการศึกษาดูงานการขับเคลื่อนและพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 6 - 8 มิถุนายน 2561

06 มิถุนายน 2561
                 นางสาวบังอร  ฐิตะไพศาลผล  ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 2  จัดนำคณะนักลงทุนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือศึกษาดูงานการขับเคลื่อนและพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดฉะเชิงเทรา 
จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง  ระหว่างวันที่ 6 - 8 มิถุนายน 2561 จำนวน 30 ท่าน  โดยเยี่ยมชมกิจการดังนี้ 
                -  เยี่ยมชมและรับฟังการบรรยาย ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Microelectronics Center : TMEC) เป็นศูนย์กลางของงานวิจัยและพัฒนาด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เป็นโรงงานผลิตวงจรรวมแห่งแรกของประเทศไทย
                - ประชุมหารือร่วมกับนักลงทุนภาคตะวันออกและรับฟังการบรรยายเกี่ยวข้อง “ระเบียงเศรษฐกิจภาค
ตะวันออก (EEC) : นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

                -  เยี่ยมชมกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์  บริษัท ไทยซัมมิท พีเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด  ผู้ผลิตแชสซี และ
เสื้อเพลาหลังสำหรับรถกระบะขนาด 1 ตันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้ใช้โรบ๊อตในการผลิต
                -  เยี่ยมชมกิจการผลิตหมอนยางพาราและที่นอนยางพารา  บริษัท  เจ เอส วาย ลาเท็กซ์โปรดักส์
(ไทยแลนด์) จำกัด  โรงงานตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยางซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมยางพาราและเป็น
แห่งแรกของโลก
                - เยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายสรุปเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi) ณ วังจันทร์วัลเล่ย์  เป็นพื้นที่รองรับการพัฒนาเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (ARIPOLIS) และเทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยาศาสตร์ (BIOPOLIS) เป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศนวัตกรรมที่เหมาะสมช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐ
                - สถาบันวิทยสิริเมธี  (Vidyasirimedhi Institute; VISTEC) มีเป้าหมายผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “ในระดับโลก”   มุ่งเน้นการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์   วิศวกรรมและเทคโนโลยี   โดยมีศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นแนวหน้า ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ทางการวิจัยและให้การสนับสนุนด้านทุนการวิจัยแก่สถาบันฯ
                - โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (Kamnoetvidya  Science Academy; KVIS)  เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 – 6 โดยมุ่งหวังบ่มเพาะและสร้างเด็กที่มีความพร้อมที่จะเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์และ สามารถต่อยอดและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่ประเทศ